การใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนนั้น โดยปกติแล้วจะมีการจดบันทึกว่าผู้ใช้งานแต่ละบ้าน แต่ละอาคารสถานที่ใช้ไฟไปในปริมาณเท่าไรด้วยการดูจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า “มิเตอร์ไฟฟ้า” บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักมิเตอร์ไฟฟ้ากันว่า มีกี่ประเภท เลือกมาติดอย่างไรถึงจะถูก ช่วยลดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะกับบ้านของคุณ
มิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร
มิเตอร์ไฟฟ้า หรือ Watt-hour Meter คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณของกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour; kWh)
มิเตอร์ไฟฟ้ามีหลากหลายขนาดเพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มากน้อยแตกต่างกัน เช่น มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ขนาด ได้แก่ 5(15)A, 15(45)A, 30(100)A และ 50(150)A เรียงตามการใช้งานจากน้อยไปมากตามลำดับ ซึ่งที่พักอาศัยที่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่อง เช่น ทีวี แอร์หลายเครื่อง ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำอุ่น ส่วนมากมักติดตั้งมิเตอร์ขนาด 15(45)A
Tip: วิธีอ่านขนาดแอมป์ของมิเตอร์
5 | (15) | A |
ขนาดแอมป์ของมิเตอร์ตัวนั้น ๆ | ค่าแอมป์สูงสุดที่มิเตอร์ตัวนั้น ๆ รับได้ | หน่วยของมิเตอร์ (แอมป์) |
มิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท
หากแบ่งประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้าตามวิธีการคิดเงินจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. มิเตอร์ทั่วไป 2. มิเตอร์ TOU
มิเตอร์ทั่วไปจะคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า นั่นคือหากมีการใช้ไฟเยอะค่าไฟก็จะมากขึ้นตามปริมาณการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันคิดอัตราค่าไฟที่ 4.6 บาท/หน่วย ส่วนมิเตอร์ TOU จะคิดตามช่วงเวลาการใช้งาน ลองมาอ่านกันต่อเลยว่าจะแตกต่างมากแค่ไหน
มิเตอร์ TOU ต่างกับมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปอย่างไร?
มิเตอร์ TOU หรืออัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use Tariff) ต่างกับมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปตรงที่จะคิดเงินค่าไฟที่ตามช่วงเวลาของการใช้งาน โดยทางการไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราที่แตกต่างกันของช่วงเวลาดังนี้
- ช่วงเวลา On Peak (ช่วงเวลาความต้องการไฟฟ้าสูง) จะอยู่ที่เวลา 9:00-22:00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล อัตราค่าไฟอยู่ที่ 5.79 บาท/หน่วย (ยังไม่รวมค่า ft และ VAT)
- ช่วงเวลา Off Peak (ช่วงเวลาความต้องการไฟฟ้าต่ำ) จะอยู่ที่เวลา 22:00-9:00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล และเวลา 00:00-24:00 น. ของวันเสาร์-อาทิตย์ อัตราค่าไฟอยู่ที่ 2.63 บาท/หน่วย (ยังไม่รวมค่า ft และ VAT)
โดยช่วงเวลา On Peak และ Off Peak จะมีการคิดอัตราค่าไฟต่างกันในแต่ละประเภทของแต่ละบ้านหรือกิจการ ดังนั้นหากมีคำถามว่ามิเตอร์ไฟฟ้า TOU เหมาะกับใคร หรือช่วยลดค่าไฟได้มากน้อยเพียงใด ก็บอกได้ว่าจะเหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟตอนกลางคืนมากกว่า เช่น กลุ่มคนที่ทำงานข้างนอกทั้งวันแล้วกลับบ้าน โดยในช่วงกลางวันไม่ค่อยได้อยู่บ้านนั่นเอง
ประหยัดค่าไฟมากขึ้น หากติดโซล่าเซลล์คู่กับมิเตอร์ TOU
หลายคนอาจคิดว่าติดเพียงมิเตอร์ TOU ก็ดูจะคุ้มค่าสำหรับคนที่ใช้ไฟฟ้าเวลากลางคืนเป็นส่วนมาก แต่หากเป็นคนที่ใช้ไฟฟ้าทั้งเวลากลางวันและกลางคืนพอ ๆ กันล่ะ ต้องทำอย่างไรถึงจะประหยัดค่าไฟได้มากกว่าเดิม? การติดโซล่าเซลล์แบบออนกริดก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะช่วงเวลากลางวันสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องง้อไฟฟ้าจาก กฟน. และในเวลากลางคืนก็ยังมีมิเตอร์ TOU ช่วง Off Peak ที่คิดค่าไฟในอัตราเพียง 2.63 บาท/หน่วย นับว่าโซล่าเซลล์เข้ามาช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้มากเลยทีเดียว
ติดโซล่าเซลล์ PSI ได้แล้ววันนี้
ชุดโซล่าเซลล์ระบบออนกริด PSI ช่วยคุณประหยัดค่าไฟได้มากกว่าเดิม เพราะโซล่าเซลล์ระบบออนกริดจะสามารถแปลงงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในช่วงเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงแดดก็สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้
ชุดโซล่าเซลล์ PSI ที่แนะนำ
ชุดโซล่าเซลล์ P33 ระบบออนกริด 1 เฟส (พร้อมแผง 540W จำนวน 7 แผง) โดยโซล่าเซลล์ชุดนี้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้นาน 25 ปี ลดค่าไฟต่อเดือนได้มากถึง 2,500 บาท ราคารวมติดตั้งเพียง 89,000 บาท* (จากปกติราคา 160,000 บาท) สามารถเช็กสถานะการทำงานได้แบบเรียลไทม์ด้วยแอป PSI Energy
*ราคาอาจเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชัน สอบถามได้ทาง Call center 1247
หากคุณสนใจชุดโซล่าเซลล์ PSI สามารถปรึกษา PSI ได้ที่ PSI.CO.TH และหากคุณกำลังมองหาชุดโซล่าเซลล์ที่ได้คุณภาพนอกจากการใช้เพียงมิเตอร์ TOU เพื่อประหยัดค่าไฟก็อย่าลืมซื้อชุดโซล่าเซลล์ P33 (ส่งฟรีและติดตั้งฟรีโดยช่างได้มาตรฐานจาก PSI) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและโซล่าเซลล์ทุกแบบของ PSI ได้ที่ เว็บไซต์เดียวกัน รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE : @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats
บทความที่เกี่ยวข้อง