ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น เพราะอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรจึงได้รับปริมาณแสงแดดที่เข้มข้นจากดวงอาทิตย์เกือบทั้งปีทำให้เหมาะกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม แผงโซล่าเซลล์ไม่ได้มีเพียง 1 ชนิด ควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับประเทศไทยและเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราอย่างไร มาดูกันเลย!
แผงโซล่าเซลล์มีกี่ชนิด?
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักชนิดของแผงโซล่าเซลล์กันก่อน แผงโซล่าเซลล์มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่
1. แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
แผงชนิดนี้ทำมาจากซิลิกอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เกรดดีที่สุด จุดสังเกตก็คือเซลล์ของแผงจะมีสีน้ำเงินที่ไม่เข้มมาก เซลล์บนแผงเป็นทรงสี่เหลี่ยมตัดมุมมน ข้อดีของแผงโมโนคริสตัลไลน์คือมีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากถึง 15-20% ใช้งานได้นานกว่า 25 ปีขึ้นไป และผลิตกระแสไฟได้มากแม้ว่าจะมีแสงเข้าถึงน้อย
2. แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตจากผลึกซิลิกอน เซลล์บนแผงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่มีการตัดมุม สีของแผงมีสีน้ำเงินที่ไม่เข้มมาก ข้อดีของแผงโพลีคริสตัลไลน์ก็คือกระบวนในการผลิตนั้นไม่ซับซ้อน ใช้งานในที่อุณหูมิสูงค่อนข้างดี ราคาประหยัด แต่ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่เพียงแค่ 13-16%
3. แผงอะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้เหมือนเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นไฟฟ้ามาฉาบเป็นฟิล์มบาง ๆ ซ้อนกันหลายชั้น ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงชนิดนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ราคาประหยัดมากที่สุด แต่ไม่เหมาะสำหรับติดตั้งบนหลังคา สำหรับบ้านโดยทั่วไปมีเพียง 5% เท่านั้นที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้
นอกจากจะแบ่งชนิดของแผงโซล่าเซลล์ตามวัสดุที่ใช้ผลิตแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็นแบบ Full Cell และ Half Cell ตามลักษณะการทำงานของแผงได้ด้วย โดยแบบ Full Cell จะเป็น 1 แผง 1 วงจร ส่วนแบบ Half Cell จะเป็น 1 แผง 2 วงจร ซึ่ง PSI แนะนำให้เลือกติดตั้งแบบ Half Cell เนื่องจากแผงวงจรชนิดนี้จะแบ่งแผงโซล่าเซลล์ออกเป็น 2 แผงบน-ล่าง ซึ่งทั้ง 2 แผงนี้มีวงจรแยกกัน หากมีด้านใดด้านหนึ่งถูกบดบัง อีกด้านก็จะยังทำงานได้อยู่
นอกจากนี้ Half Cell ยังเหมาะกับประเทศไทยมาก เพราะเป็นแผงโซล่าเซลล์ประเภทที่ทำงานได้เป็นอย่างดีในสภาวะที่มีความร้อนสูง
แผงโซล่าเซลล์แบบ Half Cell มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง?
4 จุดเด่นของแผง Half Cell
- ผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องแม้มีเงาบดบังบางส่วนของแผง
- มีค่าความต้านทานต่ำ เนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็ก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟสูง
- ความร้อนที่แผงต่ำ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และใช้งานได้อย่างปลอดภัย
- แข็งแรง ทนทาน ไวต่อการแตกร้าวน้อยกว่าแบบ Full Cell
แล้วแผงโซล่าเซลล์แบบไหน เหมาะกับอากาศประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทั้งหมด 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แผงโซล่าเซลล์ที่เลือกใช้จะต้องมีความทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ ที่ถึงแม้จะมี 3 ฤดูก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่า สภาพอากาศของประเทศไทยนั้นมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก
โดยที่อากาศของประเทศไทยมีแดดร้อนสลับฝนตกเป็นส่วนใหญ่ แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน 3 ชนิดที่กล่าวไว้ข้างบนแล้ว ยังผลิตกระแสไฟได้ดีแม้ในวันที่ไม่มีแดด มีความทนทาน เหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาบ้าน และมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่า 25 ปี สามารถใช้งานกันไปยาว ๆ ได้เลย
PSI พร้อมดูแลทุกครัวเรือน มีความเข้าใจถึงอากาศของประเทศไทยเป็นอย่างดี และผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับอากาศบ้านเรา แผงโซล่าเซลล์ของ PSI เป็นชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ประเภท Half Cell ใช้แผงโซล่าเซลล์เกรดดีที่สุด ผ่านการทดสอบด้วยละอองทราย เกลือ และแอมโมเนีย และยังกันฝุ่น กันน้ำที่มาตรฐาน IP68 ทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ประสิทธิภาพและความทนทานต่อการใช้งานสูงแน่นอน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและโซล่าเซลล์ทุกแบบของ PSI ได้ที่ : ทำไมต้องใช้โซล่าเซลล์ของ PSI? รวมถึงขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ที่ PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE : @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats
บทความที่เกี่ยวข้อง
- “โซล่าเซลล์” พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทางเลือกใหม่ของทุกคน
- คุณสมบัติแผงโซล่าเซลล์ PSI MONO 340W และ 380W