ปัจจุบันพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ใช้เวลาในการนั่งทำงานวันละหลายๆ ชั่วโมงติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการ ชา ปวดเมื่อย ตามข้อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการเริ่มต้นของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดม
โรคออฟฟิศซินโดม เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ
โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้
- ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานแบบไม่ถูกต้อง
- การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
- สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน
ซึ่งสาเหตุและปัจจัยต่างๆ จะลดลงหากเรามีวิธีในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง และเหมาะสม โดยวันนี้เรามีวิธีการดูแลตนเองแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดมมาฝากกันค่ะ
6 วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดม
1. ควรจัดตำแหน่งการนั่งทำงานให้เหมาะสม โดยนั่งให้หลังตรง และระดับความสูงของเก้าอี้ให้พอดี
2. นั่งให้สายตาอยู่ห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 1 ไม้บรรทัด หรือประมาณ 30 cm. และปรับหน้าจอให้เอียง 5-20 องศา
3. ปรับข้อศอกให้แนบขนานกับลำตัว และเก้าอี้ควรมีที่วางรองรับแขน
4. ควรวางเท้าให้เหยียบพื้น โดยทำมุม 90 องศา หรือหาชั้นมาเพื่อวางเท้าให้ทำมุมตามที่ต้องการ
5. การวางมือในการใช้เม้าส์ ควรวางให้ขยับได้ง่ายๆ และควรมีที่รองข้อมือ เพื่อป้องกันการปวดข้อ
6. เปลี่ยนอริยาบถในการทำงานในทุกๆ 5 นาที หรือลุกออกจากโต๊ะทำงานทุก 20-30 นาทีค่ะ