ปี พ.ศ. 2565 นี้ กกพ. ปรับค่า Ft ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคมที่ขึ้นจากเดิม 1.39 สตางค์/หน่วย เป็น 24.77 สตางค์/หน่วย และล่าสุดในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ก็มีมติให้ Ft ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย ทำให้เมื่อคำนวณรวมกับส่วนอื่น ๆ แล้ว ค่าไฟโดยเฉลี่ยจะสูงถึง 4.72 บาท/หน่วย ค่าไฟขึ้นอย่างนี้เราจะทำอย่างไรเพื่อประหยัดไฟได้บ้าง? คำตอบที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ย่อมไม่พ้นการ “ติดตั้งโซล่าเซลล์”
ค่า Ft คืออะไร?
ค่า Ft เป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้คำนวณค่าไฟ
ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ร้อยละ 7) |
คำว่า Ft ในที่นี้มาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge หมายถึงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. รวมถึงค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ ค่า Ft เป็นสิ่งที่อาจจะคงที่ ปรับขึ้น หรือปรับลงก็ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสถานการณ์โลก เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ เศรษฐกิจโลก ภาวะโลกระบาด ฯลฯ โดยจะมีการปรับและประกาศให้ประชาชนทราบทุก ๆ สี่เดือน
ค่า Ft ขึ้น แก้ปัญหาด้วยการติดตั้งโซล่าเซลล์
โซล่าเซลล์ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ แท้ที่จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มนุษย์พยายามประดิษฐ์เทคโนโลยีที่จะแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าเรื่อยมาจนสำเร็จในศตวรรษที่ 20 และใช้กันอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 21
เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับการพัฒนาจนมีหลากหลายประเภท ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุ, ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า, ความสามารถในการประหยัดไฟ, ระบบ on gird/off grid/hybrid หรือเรื่องที่หลายๆ บ้านให้ความสนใจคือ “ราคา”
การติดตั้งโซล่าเซลล์ช่วยแก้ปัญหาค่าไฟขึ้นได้ดี ตัวอย่างเช่นเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ PSI ซึ่งเป็นระบบโซล่าเซลล์ on grid แล้ว บ้านนั้น ๆ ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ในช่วงกลางวัน ใช้ไฟจากการไฟฟ้าแค่ช่วงกลางคืน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะลดภาระค่าไฟไปได้ส่วนหนึ่ง
ถึงตรงนี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะเกิดคำถามว่าแล้วติดตั้งโซล่าเซลล์ราคาเท่าไร ที่บอกว่ามีให้เลือกหลากหลายนั้นหลากหลายอย่างไร เราจะไปพูดถึงเรื่องนี้กันในหัวข้อต่อไป
ชุดโซล่าเซลล์ราคาเท่าไร
ราคาของชุดโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตไฟฟ้า ยิ่งผลิตได้มาก ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งมาก (เนื่องจากต้องใช้แผงโซล่าเซลล์เยอะกว่า และต้องใช้เครื่องอินเวอร์เตอร์หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่และแปลงกระแสไฟได้มากกว่า
อย่างไรก็ตาม โซล่าเซลล์ on grid ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบของการไฟฟ้านั้นมีจุดเด่นที่ราคาไม่สูงอย่างที่คิด (แตกต่างจากระบบ off grid และ hybrid ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของแบตเตอรี่สำรองไฟด้วย)
โซล่าเซลล์ PSI สำหรับครัวเรือนมีทั้งหมด 4 รุ่นด้วยกัน แต่ละรุ่นแตกต่างกันดังนี้
ชื่อรุ่น | ราคา* | ช่วยประหยัดไฟ | เหมาะกับ |
Easy Plug (420W) | 14,900.- | ประมาณ 2,500.-/ปี | บ้านที่มีค่าไฟประมาณ 600-1,000.-/เดือน |
P16 (1.6 kW) | 75,000.- | ประมาณ 1,000.-/เดือน | บ้านที่มีค่าไฟประมาณ 2,000.-/เดือน |
P33 (3.3 kW) | 135,000.- | ประมาณ 2,000.-/เดือน | บ้านที่มีค่าไฟประมาณ 4,000.-/เดือน |
P50 (5 kW) | 199,000.- | ประมาณ 3,000.-/เดือน | บ้านที่มีค่าไฟประมาณ 6,000.-/เดือน |
*ราคาในตารางนี้รวมค่าขนส่งและติดตั้งแล้ว
โซล่าเซลล์ทุกชุดของ PSI ติดตั้งโดยช่างมาตรฐานที่ผ่านการอบรมมาแล้ว มีรับประกันตัวแผงและเครื่องอินเวอร์เตอร์ 5 ปี และมีบริการให้คำปรึกษาและบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน
ติดตั้งโซล่าเซลล์รุ่นไหนดี?
สำหรับผู้ที่สนใจทดลองติดตั้งโซล่าเซลล์และมีต้นทุนไม่มาก เราแนะนำให้ลองรุ่น Easy Plug เนื่องจากเป็นโซล่าเซลล์รุ่นประหยัด ราคาจับต้องได้ สามารถคืนทุนได้ในเวลา 5-6 ปีเท่านั้น
จุดเด่นของชุดโซล่าเซลล์ Easy Plug คือมีขนาดเล็ก ในชุดประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ 420W 1 แผง + Micro inverter เท่านั้น ตอบโจทย์บ้านที่มีพื้นที่ติดตั้งไม่มาก และต้องการแบ่งเบาภาระค่าไฟ โดยช่วยประหยัดค่าไฟจากการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้ประมาณ 2,500.-/ปี
สนใจอยากติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถติดต่อ PSI เพื่อขอคำปรึกษา-สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PSI Call Center 1247 หรือเว็บไซต์ PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE: @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats
โซล่าเซลล์ PSI ใช้แล้วไม่ผิดหวัง ช่วยคุณประหยัดไฟได้ล้านเปอร์เซ็นต์!
บทความที่เกี่ยวข้อง